วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Lectureบทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีคำจำกัดความ ๓ คำที่จำเป็นต่อการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม นำไปใช้เพื่อเกิดการพักผ่อน การประกอบกิจกรรมนันทนาการ นำไปสู่ความพอใจและความสุขในแบบต่างๆ

2) จุดหมายปลายทาง (Destination) คือ สถานที่ๆใดที่หนึ่ง เป็นที่เฉพาะ หรือทั่วไป หรือหลายๆที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง


3) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) คือ สถานที่ที่มีศักยภาพดึงดูดคนไปเยี่ยมชม หรือ ประกอบกิจกรรมนันทนาการดังนั้น แหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ๆเกิดจากธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ หรือประกอบกิจกรรมนันทนาการ





ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

1. จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น

2. จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างทางในเวลาสั้นๆ

- ความเป็นเจ้าของ คือ ผู้ที่ดูแลแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล เอกชน องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร

- ความคงทนถาวร คือ การแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ที่เป็นสถานที่ ที่เป็นเทศกาล



ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

สิ่งที่สามารถสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น ๓ ประเภท คือ





1) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ คือ ที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งชีวภาพและกายภาพ รวมบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่คงสภาพธรรมชาติเอาไว้ เช่น ภูเขา น้ำตก ทะเล น้ำพุร้อน สวนสัตว์เปิด อุทยานแห่งชาติ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น








2) แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ ที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ อายุ และรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างกันออกไป ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆในประเทศไทย กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น ๗ ประเภท

ด้แก่1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ ที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากไม่มีจะเกิดความสูญเสียอย่างมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง พระธาตุดอยสุเทพ



2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่สร้างเพื่อบุคคล หรือเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์

3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่มีคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม

4. ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์


5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ พื้นที่ที่มีสถาปัตยกรรม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ เมืองที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม เช่น อยุธยา


7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ที่สำคัญของชาติ เช่น โบราณสถานเวียงกุมกาม๓) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น คือ ที่ที่มีแบบอย่างการดำเนินชีวิต ความเชื่อ กิจกรรมต่างๆที่สืบทอดกันมา เป็นแบบเฉพาะในแต่ละชุมชน เช่น การแห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ เป็นต้น


ภาพพิธีการแห่นางแมว
ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น