วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

365 ปี ประวัติของปินโต




ประวัติของปินโตปิน โตเป็นชาวโปรตุเกส เกิดในครอบครัวยากจน เขาออกเดินทางผจญภัยไปที่เมืองดิว ประเทศอินเดีย เอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไสนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอิยเดียตะวันออก ปัจจุบันคือน่านน้ำอินโดนิเซียเมื่อ เขาเดินทางกลับมาที่โปรตุเกส จึงเขียนหนังสือชื่อว่า "Peregrinacao" และถูกตีพิมพ์

จากที่เขาถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๕๘๓งาน เขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๖๑๔ และแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ใน ค.ศ. ๑๙๘๓ กรมศิลปากรได้เผยแผ่บันทึกของปินโตในบางส่วน ชื่อว่า " การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. ๑๕๓๗ - ๑๕๕๘ " แปล โดย สันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมา กรมศิลปากร ร่วมกับ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแผ่อีกครั้ง ในปี ค.ศ.๑๙๘๘ โดยแปลจากหนังสือชื่อ " Thailand and Portugal : ๔๗๐ Years of Friendship"คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยามบัน ทึกของปินโต นับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับ ทรัพยากรการ ทหารวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อกฎหมาย และเรื่องราวในราชสำนักสยาม กลางคริสต์ศตวรรษที่๑๖และมักจะถูกอ้างอิงเสมอ


เมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกส ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ. ๑๕๔๓ - ๑๕๔๖) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยาม กับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ. ๑๕๔๗ (พ.ศ. ๒๐๙๑) เรื่อง ราวในหนังสือ "Peregrinacao" สอดคล้องกับงานเขียน ของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน เช่น การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส ซึ่งเคยถูกจองจำ และรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียน ของจูอาว เดอ บารอสเช่นกัน เป็นต้นนัก เขียนทั้งหลายต่างก็พากันเห็นว่า

งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจ เกินกว่าความเป็นจริง ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่หลักฐานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีคำถามและข้อสงสัยต่างๆในหลักฐานนั้นงานของปินโตถูกตั้งข้อ สงสัย เกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชเพราะบันทึกของเขา เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำ เมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่ง



คุณค่าทางประวัติศาสตร์

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารที่สำคัญ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ทรัพยากร การทหาร วัฒธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวต่าง ๆ ในสยามตอนกลาง
เรื่องราวในหนังสือ สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ โดมิงกุส ดึ ไซซัส ที่เคยถูกจองจำและรับราชการทหารในกรุงศรีอยุธยา




ที่มา : เอกสารประกอบคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

2 ความคิดเห็น: